เต่าลายตีนเป็ด (Callagur borneoensis)
เต่าลายตีนเป็ด Callagur Borneoensis ,Painted Batagur Terrapin เป็นเต่าหัวแดง กินทั้งพืชและ ปลาสด เป็นอาหาร เช่น ผักบุ้ง ลูกมะเดื่อ ผัตบชวา ปลาสด
เต่าลายตีนเป็ด Callagur borneoensis เป็นเต่าน้ำจืดที่มีกระดองหนาและแข็งแรงลักษณะยาวรี แผ่นกระดองมีลายชัดเจน กระดองหลังกระดองทั้งสองข้างมีแผ่นกระดองที่เรียงชิดกันข้างละ 12 แผ่น และถัดมาเป็นแผ่นกระดองแถวที่ 2 มีแผ่นกระดองข้างละ 4 แผ่นและแผ่นกระดองแถวกลางเรียงจากขอบกระดองที่อยู่ตรงส่วนหัวเรียงไปถึงขอบกระดองส่วนท้ายเป็นแนวตรงจำนวน 5 แผ่น มองเห็นลายคล้ายตีนเป็ดสีดำเป็นแนวยาว กระดองท้องสีเหลืองนวลหนาและแข็งแรงเต่าลายตีนเป็ด
ชื่อสามัญ (ไทย) เต่าลายตีนเป็ด,เต่าหัวแดง,เต่าจมูกแหลมบอร์เนียวชื่อสามัญ (อังกฤษ) Painted Batagur Terrapin,Saw-jawed Terrapin
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Callagur borneoensis
เต่าลายตีนเป็ดขอบกระดองทั้งสองข้างมีแผ่นกระดองที่เรียงชิดกันจำนวนข้างละ 12 แผ่น และถัดมาเป็นกระดองแถวที่ 2 มีแผ่นกระดองข้างละ 6 แผ่น จำนวน 2 แถว คอยืดหดยาวประมาณ 10 เซนติเมตร หัวลักษณะเป็นสามเหลี่ยมประกอบด้วยตา 1 คู่ ตาสีดำคล้ายตาคนกลอกกลิ้งไปมาได้มีผนังตาหุ้มเปิดปิดได้ ฟันแบบ Cardiform ลักษณะเป็นแผ่นคมซี่เล็กๆ คล้ายฟันเลี้อย เท้าจำนวน 2 คู่ เท้าหน้ามีนิ้วเท้า 5 นิ้ว และเท้าหลังมีนิ้วเท้า 4 นิ้ว ปลายนิ้วเท้ามีเล็บแหลมยาวสำหรับใช้ขุดหลุมวางไข่ระหว่างนิ้วเท้าแต่ละนิ้วมีผังผืดหุ้มช่วยในการว่ายน้ำ หางเป็นรูปสามเหลี่ยม ประกอบด้วยช่องขับถ่ายและช่องเพศ ซึ่งจะร่วมกันมีเพียงช่องเดียว หางสารถยืดหดได้
ความแตกต่างระหว่างเพศ
สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเพศได้เมื่ออายุ 3 ปีขึ้นไป ในเต่าอายุเท่ากัน เพศผู้ตัวเล็กกว่าเพศเมีย เต่าเพศผู้กระดองหลังสีเหลืองนวลมีลายคล้ายตีนเป็ด สีดำตัดกับกระดองหลังสวยงาม
ส่วนเพศเมียกระดองหลังค้อนข้างดำอมเทาลายบนกระดองหลังมองไม่ชัด ช่วนฤดูผสมพันธุ์เพศผู้ส่วนหัวสีแดงอมชมพู รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนชัดเจนและผิวหนังสีขาวสวยงาม
ส่วนเพศเมียหัวสีดำอมเทาทั้งหัวเพศผู้หางยาวกว่าเพศเมียและช่องขับถ่ายขนาดเล็กกว่าเพศเมีย
พฤติกรรมการผสมพันธุ์วางไข่
เต่าลายตีนเป็ดเริ่มผสมพันธุ์ตั้งแต่เดือนตุลาคม โดยเต่าเพศผู้จะคลอเคลียเต่าเพ็ศเมีย ใช้ส่วนหัวไร้ตามลำตัวและอวัยวะเพศของเพศเมีย ซึ่งเป็นการเกี้ยวพาราสีหลังจากนั้นตัวผู้ใช้ขาทั้ง 4 ข้างเกาะกระดองหลังตัวเมีย ขาหน้า 2 ข้างจับที่ขอบ กระดองด้านของตัวเมียแล้วใช้ปากกดบริเวณส่วนคอตัวเมีย
หลังจากนั้นเพศผู้ใช้ปลายหางประกบส่วนใต้หางเพศเมียเพื่อสอดอวัยวะเพศเข้าผสมพันธุ์ การผสมพันธุ์ใช้เวลาประมาณ 5 นาที จึงแยกจากกัน เห็นน้ำเชื้อสีขาวข้นติดอยู่บริเวณอวัยวะเพศเมีย หลังจากนั้นประมาณ 20-30 วัน แม่เต่าเริ่มขึ้นมาสำรวจหาดทรายเพื่อหาแหล่งวางไข่ วางไข่ในคืนที่ไม่มีฝน อากาศเย็นตั้งแต่เวลา 21.00-04.00 นาฬฺกาโดยขุดหลุมลึกประมาณ 20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 30 เซนติเมตร จำนวนไข่ 5-15 ฟอง ไข่ลักษณะคล้ายไข่เป็ดระยะเวลาการฟักเป็นตัวประมาณ 82-95 วัน ที่อุณภูมิ 27.1-31.6 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 81.5-88.7 เปอร์เซ็นต์
อาหารเต่าลายตีนเป็ด
เต่าลายตีนเป็ดกินทั้งพืชและปลาสดเป็นอาหาร เช่น ผักบุ้ง ลูกมะเดื่อ ผัตบชวา ปลาสด และสามารถฝึกให้กินอาหารเม็ดปลากินพืชได้
การแพร่กระจาย :ในประเทศไทยพบที่ คลองละงู จังหวัดสตูล จังหวัดนราธิวาสและจังหวัดปัตตานี
กฎหมายคุ้มครอง กำหนดให้สัตว์เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546
อ้างอิงจาก : เต่าน้ำจืดและเต่าบกของไทย
โดย สุวรรณดี ขวัญเมือง, เสาวคนธ์ รุ่งเรือง, กำธร จรูญศักดิ์, ช่อทิพย์ จรูญศักดิ์
สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสตูล สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์