เต่าหวาย (Heosemys Grandis)
เต่าหวาย Heosemys grandis เป็นเต่าน้ำจืด ที่สามารถ กินทั้งพืชและเนื้อปลาเป็นอาหาร เช่น ผักบุ้ง ลูกมะเดื่อ ผักตบชวา ปลาสด เป็นต้น
เต่าหวาย (Heosemys grandis)เป็นเต่าน้ำจืดกระดองหลังรูปไข่ มีจำนวนแผ่นกระดอง (shield)37 แผ่น ประกอบด้วยแผ่นกระดองกลางตัว (neural shield) 5 แผ่น แผ่นกระดองด้านหลัง (costal shield) ข้างละ 4 แผ่นเต่าหวาย (Heosemys grandis) แผ่นกระดองด้านหลัง (costal shield) ข้างละ 4 แผ่น และแผ่นกระดองรอบนอกสุด (marginal shield) ข้างละ 12 แผ่น แผ่นกระดองส่วนที่ติดหัว (nuchal shield)มีขนาดเล็ก
เต่าหวายมีแผ่นกระดองด้านบนสันเล็กๆ (keel)สีเหลืองอ่อนตลอดแนวกลางตัวกระดองด้านท้อง ( hield) คือ แผ่นกระดองส่วนที่ติดกับคอ (Gulay shield) มีขนาดเล็ก 2 แผ่น แผ่นกระดองบริเวณขาหน้า (Humeral shield)2 แผ่น กระดองส่วนนอก(Pectoral shield)2 แผ่น แผ่นกระดองส่วนท้อง (abdominal shield)2 แผ่น แผ่นกระดองขาหนีบ (axillary shield)2 แผ่น แผ่นกระดองบริเวณขาหลัง (femeral shield) 2 แผ่น แผ่นกระดองส่วนก้น (anal shield)2 แผ่น
เต่าหวาย
ชื่อสามัญ(ไทย) เต่าหวาย
ชื่อสามัญ (อังกฤษ) Orange-headed Templ Terrapin
ชื่อวิทยาศาสตร์ Heosemys grandis
เต่าหวาย (Heosemys grandis) บริเวณส่วนขาสีเทาดำกว่ากระดองด้านบนเล็กน้อย ส่วนหัวมีลายจุดสีส้มอยู่ทั่วไป ลักษณะปากเป็นปากกัดคล้ายนกแก้ว ปากและริมขอบปากมีสีเหลืองอ่อน มีฟันเป็นแผ่นคมคล้ายฟันเลื้อยที่ริมขอบปากด้านบนและด้านล่างรวมทั้งภายในช่องปาก โดย 2 แถวแรกมีขนาดใหญ่ และแถวในสุดมีขนาดเล็ก ที่เพดานปาก ด้านล่างมีฟันจำนวน 2 แถว ส่วนของจมูกมนบ้าน นัยน์ตาตรงกลางสีดำล้อมรอบด้วยสีเหลืองอ่อนถัดมาเป็นสีน้ำตาล ขาหน้าและขาหลังมีเล็บจำนวน 5 เล็บ สีเหลืองอ่อน เล็บค่อนข้างยาว ระหว่างนิ้วมีผังผืดเล็กน้อย จากลักษณะของเล็บและผังผืดนี้จึงทำให้เต่าหวายสามารถอาศัยอยู่ได้ดีทั้งในน้ำและบนบก
ความแตกต่างระหว่างเพศ
ตัวเต็มวัยเพศผู้มีขนาดโตกว่าเพศเมีย หลังโค้งนูนมากกว่าเพศลักษณะรีคล้ายรูปไข่ จมูกป้านทู่มากกว่าเพศเมีย หัวโตและคอยาวกว่าเพศ ในฤดูผสมพันธุ์มีนิสัยดุร้ายและส่งเสียงดังเพื่อขู่มิให้ศัตรูเข้าใกล้ ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ จุดสีส้มกระจายอยู่ทั่วบริเวณขอบตา สามารถสังเกตได้ชัดเจน ลำตัวสีเทาดำ กระดองสีเทาดำ บริเวณกระดองหลังแต่ละแผ่นมีลายลักษณะคล้ายลายก้นหอย ส่วนหางอ้วนยาวกว่าเพศเมียเพื่อช่วยในการผสมพันธุ์ ระยะห่างระหว่างช่องขับถ่ายโคนหางกว่างเพศเมีย ด้านท้องเพศผู้สีเหลืองอ่อน บริเวณขอบสีเทาดำเล็กน้อยมีรอยบุ๋มตรงกลางลักษณะคล้ายๆ กับแถวโค้งของกระดองด้านหลังแต่บุ๋มเข้าไปข้างใน เล็บยาวกว่าเพศเมีย เพื่อช่วยเกาะเวลาผสมพันธุ์ ด้านท้องเพศเมียเรียบเสมอไม่มีรอยบุ๋มเล็บสั้นกว่าเพศผู้
พฤติกรรมการผสมพันธุ์วางไข่
เต่าหวายที่โตเต็มวัยผสมพันธุ์กันทั้งกลางวันและกลางคืน โดยผสมพันธุ์กันทั้งบนบกและในน้ำช่วงเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม โดยเต่าเพศผู้จับคู่กับเต่าเพศเมียในที่ที่ไม่มีตัวอื่นรบกวน เต่าเพศผู้จะวนไปรอบๆ เพศเมียหลายๆรอบ ขณะที่วนใช้หัวชนบริเวณส่วนหัวของเต่าเพศเมียเพื่อกระตุ้นเพศเมีย ใช้เวลาประมาณ 30 นาที จากนั้นเต่าเพศผู้ขึ้นคร่อมเต่าเต่าเพศเมีย โดยใช้กระดองส่วนที่บุ๋มขึ้นทับบริเวณหลังตัวเมีย แล้วใช้ส่วนหัวซึ่งมีขนาดใหญ่และลำคอที่ยาวกว่ากดส่วนหัวของเพศเมียมิให้เดินหนี ทำให้เต่าเพศเมียต้องหดหัวเข้ากระดองไม่สามารถเดินหนี้ได้ เพศผู้ใช้ขาและเล็บซึ่งยาวกดกับดินแล้วใช้หน้าอกส่วนที่บุ๋มกระแทกเต่าเพศเมีย
โดยใช้เวลาในการกระแทกประมาณ 10 นาที จำนวนครังที่กระแทกช่วงแรกห่าง ช่วงหลังถี่ขึ้น เสียงกระแทกกระดองหลังเพศเมีย เสียงดังได้ยินชัดเจนระยะประมาณ 30 เมตร จากนั้นเต่าเพศผู้สอดอวัยวะเพศเข้าไปในส่วนรูก้นของเพศเมีย ลักษณะอวัยวะเพศผู้เป็นท่อยาวคล้ายถุงปอดส่วนปลายแผกว้างคล้ายพัดสีเทาดำ ส่วนปลายคล้ายเล็บ ด้านล่างของอวัยวะมีติ่งเล็กๆ อยู่ตรงกลาง 2 ติ่ง ซึ่งเป็นช่องสำหรับปล่อยน้ำเชื้อเข้าเก็บในอวัยวัเพศเมีย หลังจากผสมพันธุ์กันเสร็จอวัยวะเพศผู้หลุดออกมาจากอวัยวะเพศเมีย ประมาณ 3-5 นาที จึงหดเข้าในช่องเพศเหมือนเดิม ขนาดของอวัยวะเพศผู้ยาว ประมาณ 5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4.5 เซนติเมตร หลังจากนั้นแม่เต่าจะขุดหลุมวางไข่บริเวณพื้นดินที่น้ำท่วมไม่ถึง โดยใช้ขาหลังคุ้ยดินวางไข่ ครังละ1-2 ฟอง แม่เต่า 1 ตัววางไข่ 2-6 ฟอง เมื่อวางไข่เสร็จใช้ขาหลังกลบหลุมจนกระทั้งดินกองเป็นเนินสูงเห็นชัดเจน
อาหารเต่าหวาย (Heosemys grandis)
เต่าหวายกินทั้งพืชและปลาสดเป็นอาหาร เช่น ผักบุ้ง ลูกมะเดื่อ ผักตบชวา ปลาสด และสามารถฝึกให้กินอาหารเม็ดปลากินพืชได้
การแพร่กระจาย : ประเทศไทยพบแพร่กระจายอยู่บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออเฉียงเหนือ ในจังหวัดสตูลพบเต่าหวายแพร่กระจายอยู่ทุกอำเภอพบมากที่สุดที่อำเภอละงู
กฎใหมายคุ้มครอง : กฎกระทรวง กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ 2546
อ้างอิงจาก : เต่าน้ำจืดและเต่าบกของไทย
โดย สุวรรณดี ขวัญเมือง, เสาวคนธ์ รุ่งเรือง, กำธร จรูญศักดิ์, ช่อทิพย์ จรูญศักดิ์
สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสตูล สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์